คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2555
ป.อ. ฆ่าผู้อื่น พยายาม ป้องกันเกินกว่าเหตุ หลายกรรม (มาตรา 288, 80 , 69, 91)
ผู้เสียหายที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ และโจทก์ร่วมโต้เถียงทะเลาะวิวาทกันกับกลุ่มของจำเลย นาย ส.พวกของจำเลยเข้าห้าม ก็ถูกผู้เสียหายที่ ๑ ชกบริเวณใบหน้า จำเลยจึงเข้าไปในบ้านหยิบเอามีดปลายแหลมเข้าไปฟันผู้เสียหายที่ ๒ โดยทันที ผู้เสียหายที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ จะเข้าช่วยเหลือก็ถูกจำเลยใช้มีดดังกล่าวฟันจนได้รับบาดแผลหลายแห่ง
การที่จำเลยใช้อาวุธมีดฟันทำร้ายเพื่อป้องกันมิให้ผู้เสียหายที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ และโจทก์ร่วมกับพวกเข้าชกต่อยทำร้ายร่างกายจำเลยกับพวกต่อไป เป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น หรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
อาวุธมีดที่จำเลยใช้เป็นอาวุธฟันผู้เสียหายที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ และโจทก์ร่วมมีขนาดใหญ่ และจำเลยฟันโดยแรงให้ถูกบริเวณศีรษะ ลำคอและใบหน้าของผู้เสียหายและโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ซึ่งเมื่อเกิดบาดแผลผู้เสียหายและโจทก์ร่วมอาจถึงแก่ความตายได้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายและโจทก์ร่วม เมื่อผู้เสียหายและโจทก์ร่วมไม่ถึงแก่ความตายสมเจตนา การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า
การที่จำเลยใช้มีดฟันโจทก์ร่วมแล้ว ผู้เสียหายที่ ๑ เข้าไปช่วยก็ถูกจำเลยฟัน ผู้เสียหายที่ ๓ ที่ ๔ จะเข้าไปช่วยผู้เสียหายที่ ๑ และโจทก์ร่วมก็ถูกจำเลยใช้มีดฟันอีก เช่นนี้ เป้าประสงค์ที่จำเลยใช้มีดฟันกระทำต่อบุคคลต่างกัน และกระทำต่างวาระกัน โดยประสงค์จะให้เกิดผลเป็นอันตรายแก่กายต่อผู้เสียหายและโจทก์ร่วมเป็นรายบุคคลไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
✩ กฎหมาย คำพิพากษาฎีกา การสอบสวนคดีความผิดต่อชีวิตและร่างกาย และความผิดเกี่ยวกับศพ ✩ความถูกต้องเป็นไปตามวันที่เขียนบทความและอัพเดท✩
วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557
อายุความข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น
"มาตรา ๕๒ ในการลดโทษประหารชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้ลดดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าจะลดหนึ่งในสามให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต
(๒) ถ้าจะลดกึ่งหนึ่ง ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบห้าปีถึงห้าสิบปี"
"มาตรา ๕๓ ในการลดโทษจำคุกตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุกห้าสิบปี"
"มาตรา ๕๔ ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้ศาลตั้งกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มหรือลด ถ้ามีทั้งการเพิ่มและการลดโทษที่จะลง ให้เพิ่มก่อนแล้วจึงลดจากผลที่เพิ่มแล้วนั้น ถ้าส่วนของการเพิ่มเท่ากับหรือมากกว่าส่วนของการลด และศาลเห็นสมควรจะไม่เพิ่มไม่ลดก็ได้"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๒๑/๒๕๑๖
ป.อ. มาตรา ๒๘๙ , ๘๑ , ๕๒ (๒)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๗/๒๕๑๖)
การจะคำนวณโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตนั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๒ (๒) มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ โทษกึ่งหนึ่งที่จะลงแก่จำเลย ก็คือโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุกตั้งแต่ ๑๒ ปี ถึง ๒๐ ปี ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกจำเลย ๑๐ ปี เป็นการลงโทษที่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๙ ประกอบด้วยมาตรา ๘๑ มิใช่ว่าจะลงโทษจำคุกต่ำกว่า ๑๒ ปี ไม่ได้
"มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี"
"มาตรา ๘๐ ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น"
"มาตรา ๙๕ ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
(๑) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(๒) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(๓) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(๔) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี
(๕) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน"
(สรุป.- ข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น (ม.๘๐, ๒๘๘) ระวางโทษสองในสามของโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ดังนั้น จึงลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบห้าปีถึงห้าสิบปี อายุความในหมายจับ คือ ยี่สิบปี
(๑) ถ้าจะลดหนึ่งในสามให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต
(๒) ถ้าจะลดกึ่งหนึ่ง ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบห้าปีถึงห้าสิบปี"
"มาตรา ๕๓ ในการลดโทษจำคุกตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุกห้าสิบปี"
"มาตรา ๕๔ ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้ศาลตั้งกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มหรือลด ถ้ามีทั้งการเพิ่มและการลดโทษที่จะลง ให้เพิ่มก่อนแล้วจึงลดจากผลที่เพิ่มแล้วนั้น ถ้าส่วนของการเพิ่มเท่ากับหรือมากกว่าส่วนของการลด และศาลเห็นสมควรจะไม่เพิ่มไม่ลดก็ได้"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๒๑/๒๕๑๖
ป.อ. มาตรา ๒๘๙ , ๘๑ , ๕๒ (๒)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๗/๒๕๑๖)
การจะคำนวณโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตนั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๒ (๒) มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ โทษกึ่งหนึ่งที่จะลงแก่จำเลย ก็คือโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุกตั้งแต่ ๑๒ ปี ถึง ๒๐ ปี ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกจำเลย ๑๐ ปี เป็นการลงโทษที่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๙ ประกอบด้วยมาตรา ๘๑ มิใช่ว่าจะลงโทษจำคุกต่ำกว่า ๑๒ ปี ไม่ได้
"มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี"
"มาตรา ๘๐ ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น"
"มาตรา ๙๕ ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
(๑) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(๒) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(๓) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(๔) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี
(๕) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน"
(สรุป.- ข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น (ม.๘๐, ๒๘๘) ระวางโทษสองในสามของโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ดังนั้น จึงลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบห้าปีถึงห้าสิบปี อายุความในหมายจับ คือ ยี่สิบปี
วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ทำร้ายจนภาวะหัวใจล้มเหลว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๖๙๘/๒๕๕๔
ป.อ. ผลโดยตรงจากการทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย (มาตรา ๒๙๐ , ๕๙)
แพทย์ผู้ตรวจชันสูตรศพผู้ตายสันนิษฐานว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากหัวใจขาดเลือดกะทันหันซึ่งเกิดจากการตกใจหรือมีความเครียดอย่างรุนแรง แม้จะได้ความว่าภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบของผู้ตายเป็นภาวะที่เป็นมาก่อนแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยถือมีดดาบวิ่งไล่ขู่เข็ญผู้ตายทำให้ผู้ตายเกิดอาการตกใจกลัว วิ่งหนีการทำร้าย และการที่จำเลยกลับมาด่าว่าข่มขู่และชกต่อยทำร้ายผู้ตายอีกย่อมเป็นการกระทำอันกระทบกระเทือนต่อร่างกายและจิตใจของผู้ตายอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตล้มเหลว ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างเฉียบพลันจนถึงแก่ความตาย โดยผู้ตายถึงแก่ความตายมาก่อนถึงโรงพยาบาล ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ซึ่งเป็นความผิดฐานไม่ได้เจตนาฆ่าแต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ป.อ. ผลโดยตรงจากการทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย (มาตรา ๒๙๐ , ๕๙)
แพทย์ผู้ตรวจชันสูตรศพผู้ตายสันนิษฐานว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากหัวใจขาดเลือดกะทันหันซึ่งเกิดจากการตกใจหรือมีความเครียดอย่างรุนแรง แม้จะได้ความว่าภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบของผู้ตายเป็นภาวะที่เป็นมาก่อนแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยถือมีดดาบวิ่งไล่ขู่เข็ญผู้ตายทำให้ผู้ตายเกิดอาการตกใจกลัว วิ่งหนีการทำร้าย และการที่จำเลยกลับมาด่าว่าข่มขู่และชกต่อยทำร้ายผู้ตายอีกย่อมเป็นการกระทำอันกระทบกระเทือนต่อร่างกายและจิตใจของผู้ตายอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตล้มเหลว ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างเฉียบพลันจนถึงแก่ความตาย โดยผู้ตายถึงแก่ความตายมาก่อนถึงโรงพยาบาล ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ซึ่งเป็นความผิดฐานไม่ได้เจตนาฆ่าแต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ใช้อาวุธปืนยิง พยายามฆ่า โดยพลาด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๕๖๕/๒๕๕๓
ป.อ. พยายามฆ่า กระทำโดยพลาด (มาตรา ๒๘๘, ๘๐, ๖๐)
พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ พ.ศ.๒๔๙๐ (มาตรา ๗, ๗๒)
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนพกที่อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะยิงได้จ้องเล็งไปที่ผู้เสียหายที่ ๑ แต่ถูกผู้เสียหายที่ ๒ ปัดอาวุธปืนจนเบนออกไป หลังจากนั้น กระสุนปืนลั่นขึ้นแต่ไม่ถูกผู้เสียหายที่ ๑ กระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ ๒ ได้รับบาดเจ็บ ฟังได้ว่า จำเลยจ้องอาวุธปืนพกไปที่ผู้เสียหายที่ ๑ ด้วยเจตนาฆ่า เมื่อกระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหายที่ ๑ แต่พลาดไปถูกผู้เสียหายที่ ๒ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ ๑ และผู้เสียหายที่ ๒ ด้วยการกระทำโดยพลาด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนพกไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนพกที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดเป็นของกลาง โจทก์คงนำสืบแต่เพียงว่าจำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนอาวุธปืนให้มีและใช้อาวุธปืน จึงรับฟังไม่ได้ว่า อาวุธปืนพกที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ แต่ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยว่าเป็นอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียนของผู้อื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย
ป.อ. พยายามฆ่า กระทำโดยพลาด (มาตรา ๒๘๘, ๘๐, ๖๐)
พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ พ.ศ.๒๔๙๐ (มาตรา ๗, ๗๒)
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนพกที่อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะยิงได้จ้องเล็งไปที่ผู้เสียหายที่ ๑ แต่ถูกผู้เสียหายที่ ๒ ปัดอาวุธปืนจนเบนออกไป หลังจากนั้น กระสุนปืนลั่นขึ้นแต่ไม่ถูกผู้เสียหายที่ ๑ กระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ ๒ ได้รับบาดเจ็บ ฟังได้ว่า จำเลยจ้องอาวุธปืนพกไปที่ผู้เสียหายที่ ๑ ด้วยเจตนาฆ่า เมื่อกระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหายที่ ๑ แต่พลาดไปถูกผู้เสียหายที่ ๒ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ ๑ และผู้เสียหายที่ ๒ ด้วยการกระทำโดยพลาด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนพกไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนพกที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดเป็นของกลาง โจทก์คงนำสืบแต่เพียงว่าจำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนอาวุธปืนให้มีและใช้อาวุธปืน จึงรับฟังไม่ได้ว่า อาวุธปืนพกที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ แต่ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยว่าเป็นอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียนของผู้อื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย
วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
เจตนาร่วมกันและความรับผิดในผลแห่งความตาย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๔๐/๒๕๕๗
ป.อ. มาตรา ๓๓, ๘๓, ๒๘๘ , ๒๙๐ วรรคแรก
ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๒)
นางสาว ณ. และ นางสาว ร. เคยให้การต่อพนักงานสอบสวนโดยบันทึกคำให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่า จำเลยและหลานร่วมกันชกต่อยผู้ตาย หลานจำเลยใช้มีดแทงที่หน้าท้อง ๑ ครั้ง เมื่อผู้ตายล้มจำเลยกระทืบซ้ำ การที่นางสาว ร. เบิกความแตกต่างจากที่ให้การเป็นพยานไว้ในชั้นสอบสวน โดยชั้นสอบสวน นางสาว ร. ให้การเป็นพยานวันเดียวกับที่เกิดเหตุและหลังเวลาเกิดเหตุไม่นาน จึงยังไม่ทันมีเวลาแต่งข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือจำเลย และชั้นพิจารณานางสาว ร. มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำให้การของตนชั้นสอบสวนไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบตรงไหน อย่างไร เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะและข้อเท็จจริงแวดล้อมแล้ว เชื่อว่าคำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ร. เป็นความจริงยิ่งกว่าชั้นพิจารณา
ส่วนนางสาว ณ. โจทก์ไม่สามารถติดตามนำตัวมาเบิกความเป็นพยานได้คงมีแต่คำให้การชั้นสอบสวน ยืนยันว่าเห็นจำเลยร่วมกับหลานทำร้ายผู้ตายและหลานจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายโดยจำเลยกระทืบผู้ตายด้วย แม้คำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ณ. เป็นพยานบอกเล่าก็ตาม แต่การไม่สามารถติดตามนำตัวนางสาว ณ. มาเบิกความได้ ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สามารถรับฟังคำให้การชั้นสอบสวน ของนางสาว ณ. ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๒) นอกจากนี้ ดาบตำรวจ ช. เบิกความว่าเห็นมีเลือดออกที่แขนซ้ายของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยเข้าร่วมกับหลานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายมีเลือดออก และยังเป็นการสนับสนุนคำให้การชั้นสอบสวนของ ณ. และ นางสาว ร. ให้ มีน้ำหนักน่าเชื่อมากขึ้น
การที่จำเลยเข้าร่วมกับหลานชกต่อยผู้ตาย จำเลยมีแต่เพียงเจตนาทำร้ายผู้ตายเท่านั้น แต่หลานแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยต้องรับผิดในผลแห่งความตายของผู้ตายด้วย จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๗๐/๒๕๕๔
ป.อ. ตัวการ (มาตรา ๘๓)
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ ๑ เพียงชกต่อยโจทก์ร่วม แล้วเสียหลักล้มลงไปด้วยกัน โจทก์ร่วมนั่งคร่อมจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ใช้มีดทำครัวที่หยิบได้ในที่เกิดเหตุแทงโจทก์ร่วมทางด้านหลัง ซึ่งเป็นการตัดสินใจของจำเลยที่ ๒ โดยฉับพลันในขณะนั้นเอง หาได้มีการสมคบกันมาก่อนไม่ การที่จำเลยที่ ๒ ใช้มีดแทงโดยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังเช่นนี้ เป็นเจตนาเฉพาะตัวจำเลยที่ ๒ ไม่มีเหตุที่จำเลยที่ ๑ จะคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่าจำเลยที่ ๒ จะใช้มีดแทงโจทก์ร่วม ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ มีเจตนาร่วมกันเป็นตัวการพยายามฆ่าโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๙๑/๒๕๕๔
ป.อ. ตัวการ ร่วมทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย (มาตรา ๘๓, ๒๙๐)
การที่พวกของจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุเข้าไปชกต่อยผู้ตายกับพวกก่อน แล้วจำเลยทั้งสองเข้าไปช่วยชกต่อยนั้น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาร่วมกับพวกดังกล่าวทำร้ายผู้ตายกับพวก แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ทราบมาก่อนว่าพวกของตนมีมีดติดตัวมาด้วย แต่เมื่อพวกของจำเลยทั้งสองทำร้ายผู้ตายโดยใช้มีดแทง และผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเป็นผลมาจากการถูกทำร้ายดังกล่าว จำเลยทั้งสองต้องรับผลจากการกระทำที่พวกของตนแทงทำร้ายผู้ตายด้วย
ป.อ. มาตรา ๓๓, ๘๓, ๒๘๘ , ๒๙๐ วรรคแรก
ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๒)
นางสาว ณ. และ นางสาว ร. เคยให้การต่อพนักงานสอบสวนโดยบันทึกคำให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่า จำเลยและหลานร่วมกันชกต่อยผู้ตาย หลานจำเลยใช้มีดแทงที่หน้าท้อง ๑ ครั้ง เมื่อผู้ตายล้มจำเลยกระทืบซ้ำ การที่นางสาว ร. เบิกความแตกต่างจากที่ให้การเป็นพยานไว้ในชั้นสอบสวน โดยชั้นสอบสวน นางสาว ร. ให้การเป็นพยานวันเดียวกับที่เกิดเหตุและหลังเวลาเกิดเหตุไม่นาน จึงยังไม่ทันมีเวลาแต่งข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือจำเลย และชั้นพิจารณานางสาว ร. มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำให้การของตนชั้นสอบสวนไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบตรงไหน อย่างไร เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะและข้อเท็จจริงแวดล้อมแล้ว เชื่อว่าคำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ร. เป็นความจริงยิ่งกว่าชั้นพิจารณา
ส่วนนางสาว ณ. โจทก์ไม่สามารถติดตามนำตัวมาเบิกความเป็นพยานได้คงมีแต่คำให้การชั้นสอบสวน ยืนยันว่าเห็นจำเลยร่วมกับหลานทำร้ายผู้ตายและหลานจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายโดยจำเลยกระทืบผู้ตายด้วย แม้คำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ณ. เป็นพยานบอกเล่าก็ตาม แต่การไม่สามารถติดตามนำตัวนางสาว ณ. มาเบิกความได้ ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สามารถรับฟังคำให้การชั้นสอบสวน ของนางสาว ณ. ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๒) นอกจากนี้ ดาบตำรวจ ช. เบิกความว่าเห็นมีเลือดออกที่แขนซ้ายของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยเข้าร่วมกับหลานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายมีเลือดออก และยังเป็นการสนับสนุนคำให้การชั้นสอบสวนของ ณ. และ นางสาว ร. ให้ มีน้ำหนักน่าเชื่อมากขึ้น
การที่จำเลยเข้าร่วมกับหลานชกต่อยผู้ตาย จำเลยมีแต่เพียงเจตนาทำร้ายผู้ตายเท่านั้น แต่หลานแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยต้องรับผิดในผลแห่งความตายของผู้ตายด้วย จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๗๐/๒๕๕๔
ป.อ. ตัวการ (มาตรา ๘๓)
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ ๑ เพียงชกต่อยโจทก์ร่วม แล้วเสียหลักล้มลงไปด้วยกัน โจทก์ร่วมนั่งคร่อมจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ใช้มีดทำครัวที่หยิบได้ในที่เกิดเหตุแทงโจทก์ร่วมทางด้านหลัง ซึ่งเป็นการตัดสินใจของจำเลยที่ ๒ โดยฉับพลันในขณะนั้นเอง หาได้มีการสมคบกันมาก่อนไม่ การที่จำเลยที่ ๒ ใช้มีดแทงโดยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังเช่นนี้ เป็นเจตนาเฉพาะตัวจำเลยที่ ๒ ไม่มีเหตุที่จำเลยที่ ๑ จะคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่าจำเลยที่ ๒ จะใช้มีดแทงโจทก์ร่วม ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ มีเจตนาร่วมกันเป็นตัวการพยายามฆ่าโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๙๑/๒๕๕๔
ป.อ. ตัวการ ร่วมทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย (มาตรา ๘๓, ๒๙๐)
การที่พวกของจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุเข้าไปชกต่อยผู้ตายกับพวกก่อน แล้วจำเลยทั้งสองเข้าไปช่วยชกต่อยนั้น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาร่วมกับพวกดังกล่าวทำร้ายผู้ตายกับพวก แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ทราบมาก่อนว่าพวกของตนมีมีดติดตัวมาด้วย แต่เมื่อพวกของจำเลยทั้งสองทำร้ายผู้ตายโดยใช้มีดแทง และผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเป็นผลมาจากการถูกทำร้ายดังกล่าว จำเลยทั้งสองต้องรับผลจากการกระทำที่พวกของตนแทงทำร้ายผู้ตายด้วย
ทำร้ายร่างกายได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2547
ป.อ. มาตรา 297
ป.วิ.อ. มาตรา 218
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลถึงอันตรายสาหัสนั้น ดังนั้นแม้จำเลยจะทำร้ายผู้เสียหายโดยมิได้มีเจตนาทำให้แท้งลูก เมื่อผลจากการทำร้ายนั้นทำให้ผู้เสียหายต้องแท้งลูกแล้ว จำเลยก็ต้องมีความผิดตามมาตรา 297(5)
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะผู้เสียหายนั่งอยู่บนแคร่จำเลยเดินเข้าไปตบผู้เสียหายจนตกจากแคร่ แล้วจิกผมให้ศีรษะผู้เสียหายกระแทกกับเสา เมื่อมีผู้เข้าห้าม จำเลยก็ถีบที่ท้องของผู้เสียหาย อันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยทำร้ายผู้เสียหายเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2530
ป.อ. มาตรา 297(8)
ผู้เสียหายถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมที่หน้าอกซ้าย ซึ่งเป็นที่สำคัญ หากปลายมีดเข้าไปถึงหัวใจหรือหลอดลมใหญ่และไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจถึงแก่ความตายได้ ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 8 วัน แล้วกลับมารักษาตัวที่บ้านอีก 1 เดือน แผลภายนอกหาย แต่ภายในยังเจ็บและเสียวอยู่ ผู้เสียหายต้องเลิกอาชีพรับจ้างไปทำงานอย่างอื่น เพราะไม่สามารถทำงานหนักต่อไปได้ ถึงขณะเบิกความก็ยังเจ็บหน้าอกอยู่เป็นบางครั้ง ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 แล้ว
ป.อ. มาตรา 297
ป.วิ.อ. มาตรา 218
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลถึงอันตรายสาหัสนั้น ดังนั้นแม้จำเลยจะทำร้ายผู้เสียหายโดยมิได้มีเจตนาทำให้แท้งลูก เมื่อผลจากการทำร้ายนั้นทำให้ผู้เสียหายต้องแท้งลูกแล้ว จำเลยก็ต้องมีความผิดตามมาตรา 297(5)
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะผู้เสียหายนั่งอยู่บนแคร่จำเลยเดินเข้าไปตบผู้เสียหายจนตกจากแคร่ แล้วจิกผมให้ศีรษะผู้เสียหายกระแทกกับเสา เมื่อมีผู้เข้าห้าม จำเลยก็ถีบที่ท้องของผู้เสียหาย อันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยทำร้ายผู้เสียหายเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2530
ป.อ. มาตรา 297(8)
ผู้เสียหายถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมที่หน้าอกซ้าย ซึ่งเป็นที่สำคัญ หากปลายมีดเข้าไปถึงหัวใจหรือหลอดลมใหญ่และไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจถึงแก่ความตายได้ ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 8 วัน แล้วกลับมารักษาตัวที่บ้านอีก 1 เดือน แผลภายนอกหาย แต่ภายในยังเจ็บและเสียวอยู่ ผู้เสียหายต้องเลิกอาชีพรับจ้างไปทำงานอย่างอื่น เพราะไม่สามารถทำงานหนักต่อไปได้ ถึงขณะเบิกความก็ยังเจ็บหน้าอกอยู่เป็นบางครั้ง ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 แล้ว
มีดแทงอวัยวะสำคัญครั้งเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกา ๖๖๙๓/๒๕๕๔
ป.อ. เจตนาฆ่า พยายาม (มาตรา ๒๘๘, ๘๐)
แม้ผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนถึงขนาดที่จำเลยจะเอาชีวิตผู้เสียหาย และจำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงผู้เสียหายเพียงครั้งเดียว เนื่องจากทะเลาะวิวาทกันก็ตาม แต่นายแพทย์ผู้ตรวจรักษาตรวจร่างกายผู้เสียหายพบบาดแผลขอบเรียบกว้าง ๒ เซนติเมตร ที่ชายโครงด้านซ้าย มีลมเข้าไปในปอด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาภายใน ๖ ชั่วโมง อาจถึงแก่ชีวิตได้ การที่มีลมเข้าไปในปอดเป็นผลมาจากที่จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมของกลางยาว ๕ นิ้ว แทงอย่างรุนแรงจนลึกถึงปอด และการแทงที่ชายโครงด้านซ้ายหลังซึ่งมีอวัยวะสำคัญเกี่ยวพันถึงระบบหายใจ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตายได้ ฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกา ๖๖๙๒/๒๕๕๔
ป.วิ.อ. สืบประกอบคำรับสารภาพ (มาตรา ๑๗๖ วรรคหนึ่ง)
ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง คดีนี้ได้ความว่า จำเลยกำลังวิ่งหลบหนีจากการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ โดยผู้เสียหายเข้าสกัดหน้าจำเลยไว้ แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายในลักษณะทันทีทันใด จำเลยย่อมไม่มีโอกาสเลือก ทั้งจำเลยแทงเพียงครั้งเดียว แล้ววิ่งหลบหนีไปไม่ได้แทงซ้ำอีก ตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ อาการบาดเจ็บของผู้เสียหายใช้เวลารักษา ๒ สัปดาห์ และโจทก์ก็ไม่ได้นำแพทย์ผู้รักษาผู้เสียหายมาเบิกความว่า บาดแผลของผู้เสียหายจะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้เพราะอะไร เพียงอ้างส่งผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์เท่านั้น พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงฟังได้ว่าจำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๘๗๐/๒๕๔๐
ป.อ. มาตรา ๕๙ , ๒๘๘
แม้จำเลยกับผู้เสียหายจะเป็นญาติพี่น้องกัน สาเหตุแห่งการทำร้ายเกิดจาก จำเลยโกรธที่ผู้เสียหายว่ากล่าวตักเตือนให้จำเลยเลิกดื่มสุรา ติดต่อกันมาสองวันแล้ว จำเลยได้ลอบเข้าไปแทงผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายนอนหลับอยู่ที่เตียงผ้าใบใต้ถุนบ้านหนึ่งที จำเลยใช้มีดปลายแหลมยาว ๑ ฟุต เฉพาะตัวมีดยาว ๘ นิ้ว เลือกแทงที่ท้องของผู้เสียหายอย่างแรงบาดแผลที่หน้าท้องยาว ๔ เซนติเมตร ลึกถึง ๔ นิ้ว ทะลุลำไส้เล็ก ตัดเส้นโลหิตใหญ่ฉีกขาด ผู้เสียหายมีเลือดตกในช่องท้องประมาณ ๒ ลิตร แพทย์ลงความเห็นว่าถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดอย่างรีบด่วนอาจทำให้ถึงตายได้ภายใน ๑ ชั่วโมง จำเลยใช้มีดขนาดใหญ่มีความยาวและแหลมคมแทงที่ท้องอันเป็นอวัยวะสำคัญของผู้เสียหาย ถึงแม้จำเลยจะมีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย แต่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ย่อมถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ วรรคสอง
การที่จำเลยไม่แทงซ้ำอีก ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสจะทำได้ ก็ไม่ทำให้ความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป เพราะเจตนาโดยเล็งเห็นผลนั้น มุ่งถึงลักษณะแห่งการกระทำและผลของการกระทำที่อาจเกิดขึ้นเป็นหลัก มิได้มุ่งถึงเจตนาของผู้กระทำเป็นหลัก เช่น ใช้อาวุธปืนยิงนกที่จับอยู่ขอนไม้ใกล้ ๆ กับที่มีคนนั่งอยู่ ผู้ยิงย่อมเล็งเห็นผลว่ากระสุนปืนอาจพลาดไปถูกคนได้ ซึ่งหากกระสุนปืนพลาดไปถูกคนตาย ผู้ยิงย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาทั้ง ๆ ที่ไม่มีเจตนาจะยิงคนเลย กรณีของจำเลยก็เช่นกัน เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
ส่วนการกระทำโดยบันดาลโทสะต้องเกิดจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม และต้องกระทำต่อผู้ที่ข่มเหงในขณะนั้น ผู้เสียหายเพียงแต่ว่ากล่าวตักเตือน แม้จะด่าว่าจำเลยบ้าง ก็ไม่ใช่เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม อีกทั้งผู้เสียหายก็ได้เลิกด่าและหนีไปนอนจนหลับแล้ว จำเลยลอบเข้าไปแทงขณะที่ผู้เสียหายนอนหลับจะอ้างเหตุบันดาลโทสะ หาได้ไม่
ป.อ. เจตนาฆ่า พยายาม (มาตรา ๒๘๘, ๘๐)
แม้ผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนถึงขนาดที่จำเลยจะเอาชีวิตผู้เสียหาย และจำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงผู้เสียหายเพียงครั้งเดียว เนื่องจากทะเลาะวิวาทกันก็ตาม แต่นายแพทย์ผู้ตรวจรักษาตรวจร่างกายผู้เสียหายพบบาดแผลขอบเรียบกว้าง ๒ เซนติเมตร ที่ชายโครงด้านซ้าย มีลมเข้าไปในปอด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาภายใน ๖ ชั่วโมง อาจถึงแก่ชีวิตได้ การที่มีลมเข้าไปในปอดเป็นผลมาจากที่จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมของกลางยาว ๕ นิ้ว แทงอย่างรุนแรงจนลึกถึงปอด และการแทงที่ชายโครงด้านซ้ายหลังซึ่งมีอวัยวะสำคัญเกี่ยวพันถึงระบบหายใจ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตายได้ ฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกา ๖๖๙๒/๒๕๕๔
ป.วิ.อ. สืบประกอบคำรับสารภาพ (มาตรา ๑๗๖ วรรคหนึ่ง)
ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง คดีนี้ได้ความว่า จำเลยกำลังวิ่งหลบหนีจากการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ โดยผู้เสียหายเข้าสกัดหน้าจำเลยไว้ แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายในลักษณะทันทีทันใด จำเลยย่อมไม่มีโอกาสเลือก ทั้งจำเลยแทงเพียงครั้งเดียว แล้ววิ่งหลบหนีไปไม่ได้แทงซ้ำอีก ตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ อาการบาดเจ็บของผู้เสียหายใช้เวลารักษา ๒ สัปดาห์ และโจทก์ก็ไม่ได้นำแพทย์ผู้รักษาผู้เสียหายมาเบิกความว่า บาดแผลของผู้เสียหายจะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้เพราะอะไร เพียงอ้างส่งผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์เท่านั้น พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงฟังได้ว่าจำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๘๗๐/๒๕๔๐
ป.อ. มาตรา ๕๙ , ๒๘๘
แม้จำเลยกับผู้เสียหายจะเป็นญาติพี่น้องกัน สาเหตุแห่งการทำร้ายเกิดจาก จำเลยโกรธที่ผู้เสียหายว่ากล่าวตักเตือนให้จำเลยเลิกดื่มสุรา ติดต่อกันมาสองวันแล้ว จำเลยได้ลอบเข้าไปแทงผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายนอนหลับอยู่ที่เตียงผ้าใบใต้ถุนบ้านหนึ่งที จำเลยใช้มีดปลายแหลมยาว ๑ ฟุต เฉพาะตัวมีดยาว ๘ นิ้ว เลือกแทงที่ท้องของผู้เสียหายอย่างแรงบาดแผลที่หน้าท้องยาว ๔ เซนติเมตร ลึกถึง ๔ นิ้ว ทะลุลำไส้เล็ก ตัดเส้นโลหิตใหญ่ฉีกขาด ผู้เสียหายมีเลือดตกในช่องท้องประมาณ ๒ ลิตร แพทย์ลงความเห็นว่าถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดอย่างรีบด่วนอาจทำให้ถึงตายได้ภายใน ๑ ชั่วโมง จำเลยใช้มีดขนาดใหญ่มีความยาวและแหลมคมแทงที่ท้องอันเป็นอวัยวะสำคัญของผู้เสียหาย ถึงแม้จำเลยจะมีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย แต่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ย่อมถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ วรรคสอง
การที่จำเลยไม่แทงซ้ำอีก ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสจะทำได้ ก็ไม่ทำให้ความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป เพราะเจตนาโดยเล็งเห็นผลนั้น มุ่งถึงลักษณะแห่งการกระทำและผลของการกระทำที่อาจเกิดขึ้นเป็นหลัก มิได้มุ่งถึงเจตนาของผู้กระทำเป็นหลัก เช่น ใช้อาวุธปืนยิงนกที่จับอยู่ขอนไม้ใกล้ ๆ กับที่มีคนนั่งอยู่ ผู้ยิงย่อมเล็งเห็นผลว่ากระสุนปืนอาจพลาดไปถูกคนได้ ซึ่งหากกระสุนปืนพลาดไปถูกคนตาย ผู้ยิงย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาทั้ง ๆ ที่ไม่มีเจตนาจะยิงคนเลย กรณีของจำเลยก็เช่นกัน เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
ส่วนการกระทำโดยบันดาลโทสะต้องเกิดจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม และต้องกระทำต่อผู้ที่ข่มเหงในขณะนั้น ผู้เสียหายเพียงแต่ว่ากล่าวตักเตือน แม้จะด่าว่าจำเลยบ้าง ก็ไม่ใช่เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม อีกทั้งผู้เสียหายก็ได้เลิกด่าและหนีไปนอนจนหลับแล้ว จำเลยลอบเข้าไปแทงขณะที่ผู้เสียหายนอนหลับจะอ้างเหตุบันดาลโทสะ หาได้ไม่
ลักษณะของการชุลมุนต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3713/2531
ป.อ. มาตรา 288, 294
โจทก์มีนายวิสุทธิ์ นายพิสิทธิ์ และนายสมโชค ซึ่งรู้เห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุมาเป็นพยานเบิกความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้ว่า จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงทำร้ายนายพงษ์ศักดิ์ ผู้ตาย แต่พยานโจทก์ทั้งสามนี้กลับเบิกความเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันนี้ไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1800/2528 ของศาลชั้นต้นว่า คนร้ายถือมีดมีหลายคน ที่สำคัญไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนแทงทำร้ายผู้ตายแต่อย่างใดโดยเฉพาะนายวิสุทธิ์เบิกความว่า นายสงค์ หรือสงคราม เป็นคนใช้มีดแทงทำร้ายผู้ตาย ส่วนนายพิสิทธิ์ กับนายสมโชค เบิกความในคดีก่อนในส่วนที่เกี่ยวกับคนร้ายรายนี้ว่า มีนายเขียว(ชื่อเหมือนกันกับชื่อจำเลยในคดีนี้) ยืนอยู่ในกลุ่มของนายสงค์หรือสงคราม ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10 คนในขณะเกิดเหตุด้วย สำหรับคดีนี้นายวิสุทธิ์เบิกความว่า จำเลยใช้มีดแทงที่ท้องของผู้ตาย นายพิสิทธิ์เบิกความว่า จำเลยแทงทำร้ายผู้ตาย 2 ครั้งคือที่ท้องและหลัง ส่วนนายสมโชคเบิกความตอนแรกว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยถือเหล็กขูดซาฟท์ แต่เบิกความตอนแทงทำร้ายผู้ตายว่าจำเลยใช้มีดแทงอย่างไรก็ดีตามรายงานการชันสูตรพลิกศพผู้ตายท้ายฟ้องปรากฏว่าผู้ตายถูกแทงมีบาดแผล 2 แผล คือที่บริเวณหลังด้านซ้ายกับที่บริเวณหลังด้านขวา หาใช่ถูกแทงที่ท้องดังพยานโจทก์ดังกล่าวเบิกความไม่ เมื่อคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดต่อลักษณะสภาพบาดแผลของผู้ตาย ประกอบกับได้ความว่าพยานโจทก์ก็ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยจนต้องวิ่งหนีเอาตัวรอด และไม่ทราบว่าถูกผู้ร่วมในการชุลมุนคนไหนแทงทำร้าย รวมทั้งพยานโจทก์ได้เบิกความให้ข้อเท็จจริงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรณีคนแทงทำร้ายผู้ตายซึ่งเป็นสาระสำคัญ 2 ครั้ง แตกต่างกันไม่อยู่กับร่องรอยเช่นนี้ ทำให้น่าเชื่อว่าพยานโจทก์คงเห็นไม่ถนัดหรือไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าผู้ร่วมในการชุลมุนคนไหนใช้มีดแทงทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายถูกทำร้ายร่างกายในขณะเกิดชุลมุนต่อสู้หรือสมัครใจวิวาทกันระหว่างฝ่ายผู้ตายและฝ่ายจำเลยซึ่งได้เข้าร่วมในการชุลมุนตั้งแต่สามคนขึ้นไปโดยไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้เข้าร่วมในการชุลมุนคนไหนใช้มีดแทงทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเช่นนี้ จะถือว่าผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ทั้งหมดมีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้ตายไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791 - 792/2504
ป.อ. มาตรา 83, 288, 294
กรณีชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปและมีบุคคลถึงตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294 นั้น หมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกันใครได้ทำร้ายผู้ตายถึงตาย ถ้าเป็นกรณีที่ฝ่ายหนึ่งกลุ้มรุมกันทำร้ายผู้ตายถึงตาย ฝ่ายนั้นต้องรับผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2504)
ป.อ. มาตรา 288, 294
โจทก์มีนายวิสุทธิ์ นายพิสิทธิ์ และนายสมโชค ซึ่งรู้เห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุมาเป็นพยานเบิกความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้ว่า จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงทำร้ายนายพงษ์ศักดิ์ ผู้ตาย แต่พยานโจทก์ทั้งสามนี้กลับเบิกความเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันนี้ไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1800/2528 ของศาลชั้นต้นว่า คนร้ายถือมีดมีหลายคน ที่สำคัญไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนแทงทำร้ายผู้ตายแต่อย่างใดโดยเฉพาะนายวิสุทธิ์เบิกความว่า นายสงค์ หรือสงคราม เป็นคนใช้มีดแทงทำร้ายผู้ตาย ส่วนนายพิสิทธิ์ กับนายสมโชค เบิกความในคดีก่อนในส่วนที่เกี่ยวกับคนร้ายรายนี้ว่า มีนายเขียว(ชื่อเหมือนกันกับชื่อจำเลยในคดีนี้) ยืนอยู่ในกลุ่มของนายสงค์หรือสงคราม ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10 คนในขณะเกิดเหตุด้วย สำหรับคดีนี้นายวิสุทธิ์เบิกความว่า จำเลยใช้มีดแทงที่ท้องของผู้ตาย นายพิสิทธิ์เบิกความว่า จำเลยแทงทำร้ายผู้ตาย 2 ครั้งคือที่ท้องและหลัง ส่วนนายสมโชคเบิกความตอนแรกว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยถือเหล็กขูดซาฟท์ แต่เบิกความตอนแทงทำร้ายผู้ตายว่าจำเลยใช้มีดแทงอย่างไรก็ดีตามรายงานการชันสูตรพลิกศพผู้ตายท้ายฟ้องปรากฏว่าผู้ตายถูกแทงมีบาดแผล 2 แผล คือที่บริเวณหลังด้านซ้ายกับที่บริเวณหลังด้านขวา หาใช่ถูกแทงที่ท้องดังพยานโจทก์ดังกล่าวเบิกความไม่ เมื่อคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดต่อลักษณะสภาพบาดแผลของผู้ตาย ประกอบกับได้ความว่าพยานโจทก์ก็ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยจนต้องวิ่งหนีเอาตัวรอด และไม่ทราบว่าถูกผู้ร่วมในการชุลมุนคนไหนแทงทำร้าย รวมทั้งพยานโจทก์ได้เบิกความให้ข้อเท็จจริงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรณีคนแทงทำร้ายผู้ตายซึ่งเป็นสาระสำคัญ 2 ครั้ง แตกต่างกันไม่อยู่กับร่องรอยเช่นนี้ ทำให้น่าเชื่อว่าพยานโจทก์คงเห็นไม่ถนัดหรือไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าผู้ร่วมในการชุลมุนคนไหนใช้มีดแทงทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายถูกทำร้ายร่างกายในขณะเกิดชุลมุนต่อสู้หรือสมัครใจวิวาทกันระหว่างฝ่ายผู้ตายและฝ่ายจำเลยซึ่งได้เข้าร่วมในการชุลมุนตั้งแต่สามคนขึ้นไปโดยไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้เข้าร่วมในการชุลมุนคนไหนใช้มีดแทงทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเช่นนี้ จะถือว่าผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ทั้งหมดมีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้ตายไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791 - 792/2504
ป.อ. มาตรา 83, 288, 294
กรณีชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปและมีบุคคลถึงตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294 นั้น หมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกันใครได้ทำร้ายผู้ตายถึงตาย ถ้าเป็นกรณีที่ฝ่ายหนึ่งกลุ้มรุมกันทำร้ายผู้ตายถึงตาย ฝ่ายนั้นต้องรับผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2504)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)