คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๔๐/๒๕๕๗
ป.อ. มาตรา ๓๓, ๘๓, ๒๘๘ , ๒๙๐ วรรคแรก
ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๒)
นางสาว ณ. และ นางสาว ร. เคยให้การต่อพนักงานสอบสวนโดยบันทึกคำให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่า จำเลยและหลานร่วมกันชกต่อยผู้ตาย หลานจำเลยใช้มีดแทงที่หน้าท้อง ๑ ครั้ง เมื่อผู้ตายล้มจำเลยกระทืบซ้ำ การที่นางสาว ร. เบิกความแตกต่างจากที่ให้การเป็นพยานไว้ในชั้นสอบสวน โดยชั้นสอบสวน นางสาว ร. ให้การเป็นพยานวันเดียวกับที่เกิดเหตุและหลังเวลาเกิดเหตุไม่นาน จึงยังไม่ทันมีเวลาแต่งข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือจำเลย และชั้นพิจารณานางสาว ร. มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำให้การของตนชั้นสอบสวนไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบตรงไหน อย่างไร เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะและข้อเท็จจริงแวดล้อมแล้ว เชื่อว่าคำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ร. เป็นความจริงยิ่งกว่าชั้นพิจารณา
ส่วนนางสาว ณ. โจทก์ไม่สามารถติดตามนำตัวมาเบิกความเป็นพยานได้คงมีแต่คำให้การชั้นสอบสวน ยืนยันว่าเห็นจำเลยร่วมกับหลานทำร้ายผู้ตายและหลานจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายโดยจำเลยกระทืบผู้ตายด้วย แม้คำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ณ. เป็นพยานบอกเล่าก็ตาม แต่การไม่สามารถติดตามนำตัวนางสาว ณ. มาเบิกความได้ ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สามารถรับฟังคำให้การชั้นสอบสวน ของนางสาว ณ. ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๒) นอกจากนี้ ดาบตำรวจ ช. เบิกความว่าเห็นมีเลือดออกที่แขนซ้ายของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยเข้าร่วมกับหลานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายมีเลือดออก และยังเป็นการสนับสนุนคำให้การชั้นสอบสวนของ ณ. และ นางสาว ร. ให้ มีน้ำหนักน่าเชื่อมากขึ้น
การที่จำเลยเข้าร่วมกับหลานชกต่อยผู้ตาย จำเลยมีแต่เพียงเจตนาทำร้ายผู้ตายเท่านั้น แต่หลานแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยต้องรับผิดในผลแห่งความตายของผู้ตายด้วย จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๗๐/๒๕๕๔
ป.อ. ตัวการ (มาตรา ๘๓)
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ ๑ เพียงชกต่อยโจทก์ร่วม แล้วเสียหลักล้มลงไปด้วยกัน โจทก์ร่วมนั่งคร่อมจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ใช้มีดทำครัวที่หยิบได้ในที่เกิดเหตุแทงโจทก์ร่วมทางด้านหลัง ซึ่งเป็นการตัดสินใจของจำเลยที่ ๒ โดยฉับพลันในขณะนั้นเอง หาได้มีการสมคบกันมาก่อนไม่ การที่จำเลยที่ ๒ ใช้มีดแทงโดยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังเช่นนี้ เป็นเจตนาเฉพาะตัวจำเลยที่ ๒ ไม่มีเหตุที่จำเลยที่ ๑ จะคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่าจำเลยที่ ๒ จะใช้มีดแทงโจทก์ร่วม ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ มีเจตนาร่วมกันเป็นตัวการพยายามฆ่าโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๙๑/๒๕๕๔
ป.อ. ตัวการ ร่วมทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย (มาตรา ๘๓, ๒๙๐)
การที่พวกของจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุเข้าไปชกต่อยผู้ตายกับพวกก่อน แล้วจำเลยทั้งสองเข้าไปช่วยชกต่อยนั้น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาร่วมกับพวกดังกล่าวทำร้ายผู้ตายกับพวก แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ทราบมาก่อนว่าพวกของตนมีมีดติดตัวมาด้วย แต่เมื่อพวกของจำเลยทั้งสองทำร้ายผู้ตายโดยใช้มีดแทง และผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเป็นผลมาจากการถูกทำร้ายดังกล่าว จำเลยทั้งสองต้องรับผลจากการกระทำที่พวกของตนแทงทำร้ายผู้ตายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๓๑๕/๒๕๕๒
ป.อ. มาตรา ๘๓ , ๒๘๘ , ๒๙๐ วรรคแรก
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๒ วรรคท้าย
ฝ่ายผู้ตายกับฝ่ายจำเลยทั้งสองไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ที่ผู้ตายไปขอซื้อบุหรี่ทั้งซองในราคาเพียง ๑๐ บาท จากจำเลยที่ ๒ เมื่อจำเลยที่ ๒ ไม่ยอมขายให้ ก็ด่าว่า ย่อมเป็นการเข้าไปก่อเรื่องของผู้ตาย แต่ถ้าจำเลยที่ ๒ โกรธเคืองมากก็คงไม่ให้บุหรี่แก่ผู้ตายไปบ้าง ขณะที่อยู่ในร้าน ผู้ตายเมาสุราส่งเสียงดังโวยวายรบกวนแขกในร้าน จนเจ้าของร้านทนไม่ไหวไปขอร้องผู้ตายให้กลับบ้าน
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองจะออกไปนั่งที่โต๊ะนอกร้าน ซึ่งมีบุคคล ๓ คน นั่งอยู่ก่อนแล้ว เมื่อผู้ตายกับพวกเดินออกจากร้านก็ถูกรุมทำร้าย การเข้ารุมทำร้ายอาจเนื่องจากผู้ตายเข้าไปก่อความวุ่นวายในร้านจนทำให้คนในร้านไม่พอใจ
ทางนำสืบของโจทก์ ก็ไม่ปรากฎว่าพวกที่เข้ารุมทำร้ายผู้ตายกับพวกทราบก่อนแล้วว่าจำเลยที่ ๑ มีอาวุธมีด นอกจากนี้ ไม้ที่ใช้ทำร้ายผู้ตายกับพวกก็มิใช่เป็นไม้ที่พวกที่รุมทำร้ายเตรียมไว้ก่อนเกิดเหตุ นาย จ. พยานโจทก์ไม่เห็นว่าใครแทงผู้ตายและใครเป็นผู้ที่ตีพยาน ส่วนนาย พ. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานเบิกความว่า พยานเห็นจำเลยที่ ๑ วิ่งเข้ามาเป็นคนแรกและต่อยบริเวณใบหน้าผู้ตายทำให้ผู้ตายเซไป แล้วจำเลยที่ ๒ กับพวกเข้าไปรุมทำร้ายผู้ตายโดยจำเลยที่ ๒ ใช้ไม้ตีผู้ตาย เมื่อเห็นผู้ตายถูกรุมพยานวิ่งหนีไปยืนอยู่ที่หน้าหมู่บ้าน เห็นจำเลยที่ ๑ ถืออาวุธมีดวิ่งเข้าไปแทงผู้ตาย พยานกับพวกจึงกลับไปช่วยผู้ตายจนถูกจำเลยที่ ๒ กับพวกทำร้าย โดยจำเลยที่ ๒ ใช้ขวดตีพยานแต่ไม่ถูกจึงกลับไปหน้าร้านที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยทั้งสองกับพวกขึ้นรถแท็กซี่หลบหนีไป
จากคำเบิกความของนาย พ. จะเห็นได้ว่า จำเลยที่ ๒ ทำร้ายผู้ตายหลังจากจำเลยที่ ๑ ต่อยผู้ตาย มิใช่ในขณะที่จำเลยที่ ๑ ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย แต่ในขณะที่จำเลยที่ ๑ ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายกลับปรากฏว่าเป็นช่วงเวลาที่จำเลยที่ ๒ กับพวกเข้าทำร้ายนาย พ. ซึ่งจำเลยที่ ๒ อาจไม่ทราบว่าในขณะนั้นผู้ตายถูกแทง และหลังจากจำเลยที่ ๒ ใช้ขวดตีนาย พ. ไม่ถูกแล้ว ก็วิ่งกลับไปทันที มิได้ทำร้ายหรือขัดขวางมิให้นาย พ. เข้าไปช่วยผู้ตายอีก
ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ รุมทำร้ายผู้ตาย เนื่องจากผู้ตายมาก่อกวนขอซื้อบุหรี่ไม่คิดจะฆ่าผู้ตาย ไม่ทราบว่าผู้ตายถูกจำเลยที่ ๑ ใช้อาวุธมีดแทง เนื่องจากไม่เห็นเหตุการณ์และจำเลยที่ ๑ ไม่ได้บอกให้ทราบ หลังเกิดเหตุเพียง ๒ วัน จำเลยที่ ๒ ยังไปที่ร้านที่เกิดเหตุจนถูกจับกุม ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ ๒ มิได้คบคิดกับจำเลยที่ ๑ ฆ่าผู้ตาย
แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลถูกแทงจากการกระทำของจำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ ๒ ใช้ไม้ตีผู้ตายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ ๑ ต่อยจนเซไปแล้วและจำเลยที่ ๒ แยกไปทำร้ายนาย พ. โดยไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายอย่างใดอีก การที่จำเลยที่ ๑ ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า จึงเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่โดยลำพังพฤติการณ์ของจำเลยที่ ๒ คงเป็นเพียงแต่ร่วมกับจำเลยที่ ๑ ทำร้ายผู้ตายเท่านั้น แต่การร่วมกันทำร้ายมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ ๒ จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๐ วรรคแรก
คดีนี้แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๒ ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ แต่ความผิดดังกล่าวรวมความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๐ วรรคแรก อยู่ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ ๒ ตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๒ วรรคท้าย
ป.อ. มาตรา ๓๓, ๘๓, ๒๘๘ , ๒๙๐ วรรคแรก
ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๒)
นางสาว ณ. และ นางสาว ร. เคยให้การต่อพนักงานสอบสวนโดยบันทึกคำให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่า จำเลยและหลานร่วมกันชกต่อยผู้ตาย หลานจำเลยใช้มีดแทงที่หน้าท้อง ๑ ครั้ง เมื่อผู้ตายล้มจำเลยกระทืบซ้ำ การที่นางสาว ร. เบิกความแตกต่างจากที่ให้การเป็นพยานไว้ในชั้นสอบสวน โดยชั้นสอบสวน นางสาว ร. ให้การเป็นพยานวันเดียวกับที่เกิดเหตุและหลังเวลาเกิดเหตุไม่นาน จึงยังไม่ทันมีเวลาแต่งข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือจำเลย และชั้นพิจารณานางสาว ร. มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำให้การของตนชั้นสอบสวนไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบตรงไหน อย่างไร เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะและข้อเท็จจริงแวดล้อมแล้ว เชื่อว่าคำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ร. เป็นความจริงยิ่งกว่าชั้นพิจารณา
ส่วนนางสาว ณ. โจทก์ไม่สามารถติดตามนำตัวมาเบิกความเป็นพยานได้คงมีแต่คำให้การชั้นสอบสวน ยืนยันว่าเห็นจำเลยร่วมกับหลานทำร้ายผู้ตายและหลานจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายโดยจำเลยกระทืบผู้ตายด้วย แม้คำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ณ. เป็นพยานบอกเล่าก็ตาม แต่การไม่สามารถติดตามนำตัวนางสาว ณ. มาเบิกความได้ ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สามารถรับฟังคำให้การชั้นสอบสวน ของนางสาว ณ. ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๒) นอกจากนี้ ดาบตำรวจ ช. เบิกความว่าเห็นมีเลือดออกที่แขนซ้ายของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยเข้าร่วมกับหลานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายมีเลือดออก และยังเป็นการสนับสนุนคำให้การชั้นสอบสวนของ ณ. และ นางสาว ร. ให้ มีน้ำหนักน่าเชื่อมากขึ้น
การที่จำเลยเข้าร่วมกับหลานชกต่อยผู้ตาย จำเลยมีแต่เพียงเจตนาทำร้ายผู้ตายเท่านั้น แต่หลานแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยต้องรับผิดในผลแห่งความตายของผู้ตายด้วย จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๗๐/๒๕๕๔
ป.อ. ตัวการ (มาตรา ๘๓)
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ ๑ เพียงชกต่อยโจทก์ร่วม แล้วเสียหลักล้มลงไปด้วยกัน โจทก์ร่วมนั่งคร่อมจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ใช้มีดทำครัวที่หยิบได้ในที่เกิดเหตุแทงโจทก์ร่วมทางด้านหลัง ซึ่งเป็นการตัดสินใจของจำเลยที่ ๒ โดยฉับพลันในขณะนั้นเอง หาได้มีการสมคบกันมาก่อนไม่ การที่จำเลยที่ ๒ ใช้มีดแทงโดยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังเช่นนี้ เป็นเจตนาเฉพาะตัวจำเลยที่ ๒ ไม่มีเหตุที่จำเลยที่ ๑ จะคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่าจำเลยที่ ๒ จะใช้มีดแทงโจทก์ร่วม ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ มีเจตนาร่วมกันเป็นตัวการพยายามฆ่าโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๙๑/๒๕๕๔
ป.อ. ตัวการ ร่วมทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย (มาตรา ๘๓, ๒๙๐)
การที่พวกของจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุเข้าไปชกต่อยผู้ตายกับพวกก่อน แล้วจำเลยทั้งสองเข้าไปช่วยชกต่อยนั้น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาร่วมกับพวกดังกล่าวทำร้ายผู้ตายกับพวก แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ทราบมาก่อนว่าพวกของตนมีมีดติดตัวมาด้วย แต่เมื่อพวกของจำเลยทั้งสองทำร้ายผู้ตายโดยใช้มีดแทง และผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเป็นผลมาจากการถูกทำร้ายดังกล่าว จำเลยทั้งสองต้องรับผลจากการกระทำที่พวกของตนแทงทำร้ายผู้ตายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๓๑๕/๒๕๕๒
ป.อ. มาตรา ๘๓ , ๒๘๘ , ๒๙๐ วรรคแรก
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๒ วรรคท้าย
ฝ่ายผู้ตายกับฝ่ายจำเลยทั้งสองไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ที่ผู้ตายไปขอซื้อบุหรี่ทั้งซองในราคาเพียง ๑๐ บาท จากจำเลยที่ ๒ เมื่อจำเลยที่ ๒ ไม่ยอมขายให้ ก็ด่าว่า ย่อมเป็นการเข้าไปก่อเรื่องของผู้ตาย แต่ถ้าจำเลยที่ ๒ โกรธเคืองมากก็คงไม่ให้บุหรี่แก่ผู้ตายไปบ้าง ขณะที่อยู่ในร้าน ผู้ตายเมาสุราส่งเสียงดังโวยวายรบกวนแขกในร้าน จนเจ้าของร้านทนไม่ไหวไปขอร้องผู้ตายให้กลับบ้าน
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองจะออกไปนั่งที่โต๊ะนอกร้าน ซึ่งมีบุคคล ๓ คน นั่งอยู่ก่อนแล้ว เมื่อผู้ตายกับพวกเดินออกจากร้านก็ถูกรุมทำร้าย การเข้ารุมทำร้ายอาจเนื่องจากผู้ตายเข้าไปก่อความวุ่นวายในร้านจนทำให้คนในร้านไม่พอใจ
ทางนำสืบของโจทก์ ก็ไม่ปรากฎว่าพวกที่เข้ารุมทำร้ายผู้ตายกับพวกทราบก่อนแล้วว่าจำเลยที่ ๑ มีอาวุธมีด นอกจากนี้ ไม้ที่ใช้ทำร้ายผู้ตายกับพวกก็มิใช่เป็นไม้ที่พวกที่รุมทำร้ายเตรียมไว้ก่อนเกิดเหตุ นาย จ. พยานโจทก์ไม่เห็นว่าใครแทงผู้ตายและใครเป็นผู้ที่ตีพยาน ส่วนนาย พ. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานเบิกความว่า พยานเห็นจำเลยที่ ๑ วิ่งเข้ามาเป็นคนแรกและต่อยบริเวณใบหน้าผู้ตายทำให้ผู้ตายเซไป แล้วจำเลยที่ ๒ กับพวกเข้าไปรุมทำร้ายผู้ตายโดยจำเลยที่ ๒ ใช้ไม้ตีผู้ตาย เมื่อเห็นผู้ตายถูกรุมพยานวิ่งหนีไปยืนอยู่ที่หน้าหมู่บ้าน เห็นจำเลยที่ ๑ ถืออาวุธมีดวิ่งเข้าไปแทงผู้ตาย พยานกับพวกจึงกลับไปช่วยผู้ตายจนถูกจำเลยที่ ๒ กับพวกทำร้าย โดยจำเลยที่ ๒ ใช้ขวดตีพยานแต่ไม่ถูกจึงกลับไปหน้าร้านที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยทั้งสองกับพวกขึ้นรถแท็กซี่หลบหนีไป
จากคำเบิกความของนาย พ. จะเห็นได้ว่า จำเลยที่ ๒ ทำร้ายผู้ตายหลังจากจำเลยที่ ๑ ต่อยผู้ตาย มิใช่ในขณะที่จำเลยที่ ๑ ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย แต่ในขณะที่จำเลยที่ ๑ ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายกลับปรากฏว่าเป็นช่วงเวลาที่จำเลยที่ ๒ กับพวกเข้าทำร้ายนาย พ. ซึ่งจำเลยที่ ๒ อาจไม่ทราบว่าในขณะนั้นผู้ตายถูกแทง และหลังจากจำเลยที่ ๒ ใช้ขวดตีนาย พ. ไม่ถูกแล้ว ก็วิ่งกลับไปทันที มิได้ทำร้ายหรือขัดขวางมิให้นาย พ. เข้าไปช่วยผู้ตายอีก
ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ รุมทำร้ายผู้ตาย เนื่องจากผู้ตายมาก่อกวนขอซื้อบุหรี่ไม่คิดจะฆ่าผู้ตาย ไม่ทราบว่าผู้ตายถูกจำเลยที่ ๑ ใช้อาวุธมีดแทง เนื่องจากไม่เห็นเหตุการณ์และจำเลยที่ ๑ ไม่ได้บอกให้ทราบ หลังเกิดเหตุเพียง ๒ วัน จำเลยที่ ๒ ยังไปที่ร้านที่เกิดเหตุจนถูกจับกุม ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ ๒ มิได้คบคิดกับจำเลยที่ ๑ ฆ่าผู้ตาย
แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลถูกแทงจากการกระทำของจำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ ๒ ใช้ไม้ตีผู้ตายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ ๑ ต่อยจนเซไปแล้วและจำเลยที่ ๒ แยกไปทำร้ายนาย พ. โดยไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายอย่างใดอีก การที่จำเลยที่ ๑ ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า จึงเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่โดยลำพังพฤติการณ์ของจำเลยที่ ๒ คงเป็นเพียงแต่ร่วมกับจำเลยที่ ๑ ทำร้ายผู้ตายเท่านั้น แต่การร่วมกันทำร้ายมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ ๒ จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๐ วรรคแรก
คดีนี้แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๒ ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ แต่ความผิดดังกล่าวรวมความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๐ วรรคแรก อยู่ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ ๒ ตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๒ วรรคท้าย